ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สถิติ(ข้อมูล)

ข้อมูล
ข้อมูลจำแนกตามวิธีการเก็บรวบรวมได้เป็น 2  ประเภท คือ ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ
                    ข้อมูลปฐมภูมิ   เป็นข้อมูลที่ต้องจัดเก็บจากแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง  การเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนี้ทำได้ 2 วิธี คือ การสำมะโนและการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง
                      1.  การสำมะโน  เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยของประชากรหรือสิ่งที่เราต้องการศึกษา เช่น 
การสำมะโนผู้เป็นเจ้าของฟาร์มโคนม จะสอบถามผู้เป็นเจ้าของฟาร์มทุกคนในเรื่องที่จะศึกษา
                     2.  การสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบางหน่วยของประชากร ซึ่งบางหน่วยของ
กลุ่มประชากรนี้ได้มาจากการสุ่มตามหลักการสุ่ม  เช่น  สุ่มบางหน่วยของประชากรจากผู้เลี้ยงสุกรมาสัมภาษณ์ถึงปัญหาของการเลี้ยงสุกร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนของผู้ที่เกี่ยวข้อง
                   ข้อมูลทุติยภูมิ   เป็นข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง  เมื่อเรานำข้อมูลนั้น
มาใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ  ข้อมูลที่เรานำมาใช้จะเป็นข้อมูลทุติยภูมิ 
              ในการนำข้อมูลทุติยภูมิมาใช้จะทำให้เราประหยัดเวลา  ประหยัดค่าใช้จ่าย  แต่ต้องระวังว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้น
เป็นข้อมูลที่ตรงกับที่เราต้องการใช้หรือไม่  เชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด  หรือเป็นตัวแทนของประชากรที่เรากำลังศึกษาหรือไม่  เพราะถ้าไม่ตรงกับสิ่งที่เรากำลังศึกษาจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการศึกษาและการอ้างอิงแหล่งของข้อมูลได้

การจำแนกข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล  จะจำแนกได้เป็น  ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ 
                   ข้อมูลเชิงปริมาณ   คือ  ข้อมูลที่แสดงขนาดหรือปริมาณซึ่งวัดออกมาเป็นค่าของตัวเลขที่สามารถใช้เปรียบเทียบขนาดได้โดยตรง  เช่น  จำนวนรถยนต์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นในปี พ.. 2556  จำนวนประชากรของไทยในปี พ.ศ. 2556
จำนวนผู้เข้ารับการตรวจเลือกทหารในปี พ.ศ. 2557
                    ข้อมูลเชิงคุณภาพ   คือ  ข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขได้โดยตรงแต่วัดออกมาเพื่อบ่งบอกคุณลักษณะบางอย่าง  เช่น  เพศ  อาชีพ  สถานภาพสมรส  ระดับการศึกษา  เป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปริมาตรปริซึม

ปริมาตรปริซึม ตัวอย่างการคำนวณปริมาตรปริซึม      ปริซึมสี่เหลี่ยมรูปหนึ่ง กว้าง 4 เซ็นติเมตร ยาว 8 เซ็นติเมตร และสูง 15 เซ็นติเมตร  จงหาปริมาตรปริซึมสี่เหลี่ยมรูปนี้       วิธีทำ               จากสูตรการหาปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน x สูง               จากรูป ฐานของรูปปริซึมสี่เหลี่ยมรูปนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 4 cm. และยาว 8 cm.               ดังนั้น พื้นที่ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ก x ย               แทนค่าตามสูตรปริมาตรปริซึม = พื้นที่ฐาน x สูง                                                       = ก x ย x ส                                                       = 4 x 8 x 15                                                       = 480        ตอบ ปริซึมสี่เหลี่ยมรูปนี้มีปริมาตร คือ 480 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร     ปริซึมสามเหลี่ยมรูปหนึ่ง สูง 15 เซ็นติเมตร มีความยาวฐาน 6 เซ็นติเมตร และส่วนสูงของฐาน 5  เซ็นติเมตร  จงหาปริมาตรปริซึมสามเหลี่ยมรูปนี้       วิธีทำ               จากสูตรการหาปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน x สูง               จาก

เลขยกกำลัง ตัวอย่าง 5 (math logarithm)

คำถาม จงเขียนจำนวนต่อไปนี้ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 1   พร้อมทั้งบอกฐาน และเลขชี้กำลัง                          0.0025 เขียนในรูปเลขยกกำลัง คือ …………………………………… ฐาน  คือ.................................................................................... เลขชี้กำลัง คือ ...……………………………………………… ตอบ เขียนในรูปเลขยกกำลัง คือ   0.05 2 ฐาน  คือ     0.05 เลขชี้กำลัง คือ    2

ประพจน์ (Propositions หรือ Statements)

ประพจน์ ( Propositions  หรือ Statements ) ประพจน์  คือ  ประโยคหรือข้อความที่เป็นจริงหรือเท็จ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ประโยคหรือข้อความที่มีลักษณะดังกล่าวจะอยู่ในรูปบอกเล่าหรือปฏิเสธก็ได้ ตัวอย่างประโยคหรือข้อความที่เป็นประพจน์             1.   สกลนครเป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคเหนือของไทย               (เท็จ)             2.  2 + 3 = 5                                                                             (จริง)             3.  แมวเป็นสัตว์ที่มีสองขา                                                      (เท็จ)             4.  เดือนมิถุนายนมี 30 วัน                                                        (จริง)             5.  9 หารด้วย 3 ลงตัว                                                              (จริง) จากตัวอย่างข้างต้น  การเป็นจริงหรือเท็จ (true or false)ในทางตรรกศาสตร์   ของแต่ละประพจน์   เรียกว่า   ค่าความจริงของประพจน์ (truth - value) ข้อความที่ไม่ได้อยู่ในรูปบอกเล่าหรือปฏิเสธ จะไม่เป็นประพจน์  เช่น  ประโยคคำถา