ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2022

โจทย์ความน่าจะเป็น (Probability Problem)

    โจทย์ความน่าจะเป็น  (Probability   Problem) ครอบครัวหนึ่งมีบุตร 3 คน จงหาความน่าจะเป็นที่มีบุตรเป็นหญิง อย่างน้อย 2 คน วิธีทำ           บุตร 3 คน จะได้ผลลัพธ์ คือ         S = { ชชช , ชชญ , ชญช , ชญญ , ญชช , ญชญ , ญญช , ญญญ } เหตุการณ์ที่มีบุตรเป็นหญิง อย่างน้อย 2 คน คือ           E = { ชญญ , ญชญ , ญญช , ญญญ }   ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่ มีบุตรเป็นหญิง อย่างน้อย 2 คน  เท่ากับ หรือ 0.50 หรือ 50% ฝึกสมอง ลองความไว กับแอป QMath เล่นง่าย สนุกกับการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ลิงค์ด้านล่างเลยนะคะ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.pro45.qmath

โจทย์ความน่าจะเป็น (Probability Problem)

  โจทย์ความน่าจะเป็น  (Probability   Problem) กล่องใบหนึ่ง มีลูกบอลอยู่ 6 ลูก ประกอบด้วยลูกบอล สีชมพู 2 ลูก   สีเหลือง   3 ลูก และสีฟ้า 1 ลูก หยิบมา 1 ลูก จงหาความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ลูกบอลสีชมพู วิธีทำ           หยิบบอล 1 ลูก 1 ครั้ง จะได้ผลลัพธ์ คือ         S = { ชมพู 1 , ชมพู 2, เหลือง 1 , เหลือง 2, เหลือง 3, ฟ้า 1 }           เหตุการณ์ที่จะหยิบ ได้ ลูกบอลสีชมพู คือ           E = { ชมพู 1 , ชมพู 2}   ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่จะ หยิบ ได้ ลูกบอลสีชมพู 1 ลูก เท่ากับ หรือ 0.33 หรือ 33% ฝึกสมอง ลองความไว กับแอป QMath เล่นง่าย สนุกกับการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ลิงค์ด้านล่างเลยนะคะ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.pro45.qmath

โจทย์ความน่าจะเป็น (Probability Problem)

  โจทย์ความน่าจะเป็น (Probability Problem)   1. ทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ความน่าจะเป็นที่จะได้แต้มเป็นเลขคู่ เท่ากับเท่าใด วิธีทำ           ทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง จะได้ผลลัพธ์ คือ         S = { 1 , 2, 3, 4, 5, 6}           เหตุการณ์ที่จะ ได้แต้มเป็นเลขคู่ คือ           E = {2, 4, 6}   ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่จะได้แต้มเป็นเลขคู่ เมื่อทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง เท่ากับ หรือ 0.5 หรือ 50% ฝึกสมอง ลองความไว กับแอป QMath เล่นง่าย สนุกกับการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ลิงค์ด้านล่างเลยนะคะ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.pro45.qmath

ความน่าจะเป็น Probability

      ความน่าจะเป็น  (Probability) ความน่าจะเป็น คือ โอกาสในการที่เหตุการณ์ต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นอัตราส่วนกันระหว่างสมาชิกของเหตุการณ์ที่สนใจกับสมาชิกของแซมเปิลสเปซ โดยมีสัญลักษณ์ที่ใช้แทน คือ P(E) สูตรคำนวณ    เมื่อ    P(E) = ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์           n(E) = จำนวนของเหตุการณ์ที่เราสนใจ             n(S) = จำนวนของเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ผลลัพธ์จากการคำนวณ                       P(E) = 0 (เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย)                    P(E) = 1 (เป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นแน่นอน)                    P(E) = 0.5 (เป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นครึ่งต่อครึ่ง)           ค่าความน่าจะเป็น                    P(E) มีค่าตั้งแต่ 0 แต่ไม่เกิน 1                    P(Ø) = 0                    P(S) = 1 ฝึกสมอง ลองความไว กับแอป QMath เล่นง่าย สนุกกับการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ลิงค์ด้านล่างเลยนะคะ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.pro45.qmath

ความน่าจะเป็น Probability (เหตุการณ์ event)

    ความน่าจะเป็น  (Probability) เหตุการณ์ (event)           เหตุการณ์ คือ สิ่งที่เราสนใจจากการทดลองสุ่มนั้น ๆ หรือเป็นสิ่งที่เราสนใจเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด จากสมาชิกของแซมเปิลสเปซ โดยมีสัญลักษณ์ที่ใช้แทน คือ E   และสมาชิกในเหตุการณ์เขียนในรูปแบบเซต ตัวอย่างของเหตุการณ์                    โยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ หัว ( H )                    S = {H, T}                    E = {H}                    ทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ ได้แต้มเป็นเลขคู่                    S = { 1 , 2, 3, 4, 5, 6}                    E = {2, 4, 6}                    หยิบบอล 1 ลูก จากกล่องที่มีบอล 3 ลูก ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ หยิบได้บอลลูกที่ 1                    S = { 1 , 2, 3}                    E = { 1 } จากตัวอย่างของเหตุการณ์   จะเห็นได้ว่า E เป็นสับเซตของ S ฝึกสมอง ลองความไว กับแอป QMath เล่นง่าย สนุกกับการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ลิงค์ด้านล่างเลยนะคะ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.pro45.qmath

ความน่าจะเป็น Probability (ปริภูมิตัวอย่าง Sample Space)

  ความน่าจะเป็น  (Probability) ปริภูมิตัวอย่าง ( Sample Space ) ปริภูมิตัวอย่าง คือ สมาชิกที่เป็นผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม หรือที่เรียกว่า แซมเปิลสเปซ   ( Sample Space ) โดยมีสัญลักษณ์ที่ใช้แทน คือ S  และสมาชิกในแซมเปิลสเปซ เขียนในรูปแบบเซต           ตัวอย่างของปริภูมิตัวอย่าง                    โยนเหรียญบาท 1 เหรียญ 1 ครั้ง ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดมี 2 แบบ คือ หัว ( H ) และก้อย ( T )                      S = {H, T}                    ทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดมี 6 แบบ คือ 1 , 2, 3, 4, 5 และ 6                    S = { 1 , 2, 3, 4, 5, 6}                    หยิบบอล 1 ลูก จากกล่องที่มีบอล 3 ลูก ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดมี 3 แบบ คือ 1 , 2, และ 3                    S = { 1 , 2, 3} ฝึกสมอง ลองความไว กับแอป QMath เล่นง่าย สนุกกับการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ลิงค์ด้านล่างเลยนะคะ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.pro45.qmath