สมมูลและนิเสธของประโยคที่มีตัวบ่งปริมาณ จงพิจารณาว่าประโยคที่กำหนดให้สมมูลกันหรือไม่ ∀X[ P(x) ∨ Q(x)] กับ ∀X[ Q(x) ∨ P(x) ] วิธีทำ เนื่องจาก รูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน p ∨ q ≡ q ∨ p จะได้ P(x) ∨ Q(x) ≡ Q(x) ∨ P(x) ดังนั้น ∀X[ P(x) ∨ Q(x)] ≡ ∀X[ Q(x) ∨ P(x) ] จงหานิเสธของประโยคที่กำหนดให้ ∀X[ x ≠ 2 ] → ∃X[ x ≠ 2 ] วิธีทำ จากนิเสธของ ∀X[ P(x) ] → ∃X[ Q(x)] คือ ∀X[ P(x) ] ∧ ~ ∃X[ Q(x)] จะได้ นิเสธของ ∀X[ x ≠ 2 ] → ∃X[ x ≠ 2 ] คือ ∀X[ x ≠ 2 ] ∧ ~ ∃X[ x ≠ 2 ] และ จากนิเสของ ~ ∃X[ P(x) ] คือ ∀X[ ~ P(x) ] จะได้ ~ ∃X[ x ≠ 2 ] คือ ∀X[ x = 2 ] ดังนั้น ~ ( ∀X[ x ≠ 2 ] → ∃X[ x ≠ 2 ]) คือ ∀X[ x ≠ 2 ] ∧ ∀X[ x = 2 ] ฝึกสมอง ลองความไว กับแอป QMath เล่นง่าย สนุกกับการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ลิงค์ด้านล่าง...
เนื้อหาจัดทำขึ้นเพื่อการศึกษาในรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับ ประถมศึกษา, มัธยมศีกษาและผู้สนใจทั่วไปในองค์ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ ได้ใช้เนื้อหาดังกล่าวประกอบการเรียนและฝึกฝน ให้มีความมีชำนาญด้านการคิดคำนวณมากขึ้น