ตรรกศาสตร์ (mathematical logic)
การเชื่อมประพจน์
การรวมประโยคด้วยตัวเชื่อม "และ" "หรือ" "ถ้า...แล้ว" "ก็ต่อเมื่อ" รวมทั้ง "ไม่" พบได้ในทางคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะในเรื่องตรรกศาสตร์ ตัวอย่างของการเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม เช่น นกมี 2 ขา และ ม้ามี 4 ขา ถ้าแมงมุมมี 8 ขา แล้ว กระต่ายมีปีก
การศึกษาประโยคที่เป็นประพจน์นิยมใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก เช่น p, q, r, … แทนประพจน์ และค่าความจริงของประพจน์ จะใช้ T แทน จริง และ F แทน เท็จ
ถ้ามีประพจน์เพียงประพจน์เดียว เช่น p จะมีค่าความจริงของประพจน์ที่อาจเกิด
ขึ้นได้อยู่ 2 กรณี คือ T หรือ F
ถ้ามีสองประพจน์ เช่น p และ q จะมีค่าความจริงของประพจน์ที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่ 4 กรณี คือ
p | q |
T | T |
T | F |
F | T |
F | F |
ถ้ามีสามประพจน์ เช่น p, q และ r จะมีค่าความจริงของประพจน์ที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่ 8 กรณี คือ
p | q | r |
T | T | T |
T | T | F |
T | F | T |
T | F | F |
F | T | T |
F | T | F |
F | F | T |
F | F | F |
ฝึกสมอง ลองความไว กับแอป QMath เล่นง่าย สนุกกับการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ลิงค์ด้านล่างเลยนะคะ
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.pro45.qmath
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น