เซต (Set)
การดำเนินการของเซต
อินเตอร์เซกชัน
แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ (ภาพแรเงาแสดงการอินเตอร์เซกชันของเซต)
บทนิยาม
A อินเตอร์เซกชัน B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เหมือนกันทั้งหมดของเซต A และ เซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A∩B
A∩B = { x l x ∈ A และ x ∈ B }
ตัวอย่างการอินเตอร์เซกชันของเซต
กำหนดให้ A = { 1, 2, 3, 4, 5 } และ B = { 4, 5, 6 } จงหา A∩B
จากบทนิยาม A∩B = { x l x ∈ A และ x ∈ B }
ดังนั้น A∩B = { 4, 5 }
กำหนดให้ C = { 1, 2, 3, 4, 5 } และ D = { 4, 5 } จงหา C∩D
จากบทนิยาม จะได้ C∩D = { x l x ∈ C และ x ∈ D }
ดังนั้น C∩D = { 4, 5 }
กำหนดให้ E = { 1, 2, 3, 4, 5 } และ F = { 6, 7, 8 } จงหา E∩F
จากบทนิยาม E∩F = { x l x ∈ E และ x ∈ F }
ดังนั้น E∩F = { }
กำหนดให้ G = { 6, 7, 8 } และ H = { 6, 7, 8 } จงหา G∩H
จากบทนิยาม G∩H = { x l x ∈ G และ x ∈ H }
ดังนั้น G∩H = { 6, 7, 8 }
ฝึกสมอง ลองความไว กับแอป QMath เล่นง่าย สนุกกับการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ลิงค์ด้านล่างเลยนะคะ
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.pro45.qmath
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น