ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เซต (Set) การเขียนแสดงเซต

 เซต (Set) 

 การเขียนแสดงเซต 

 การเขียนแสดงเซต  สามารถเขียนได้  2 แบบ ได้แก่ 

1. การเขียนแบบแจกแจงสมาชิก

2. การเขียนแบบบอกเงื่อนไข 

 ตัวอย่างการเขียนแสดงเซต 

 การเขียนแบบแจกแจงสมาชิก  เป็นการเขียนแสดงเซตโดยเขียนสมาชิกทุกตัวของเซตไว้ในวงเล็บปีกกา และสมาชิกแต่ละตัวจะถูกคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) เช่น

ถ้าให้ A = เซตของชื่อวันในสัปดาห์ สามารถเขียนได้ดังนี้

 A = { อาทิตย์, จันทร์, อังคาร, พุธ, พฤหัสบดี, ศุกร์, เสาร์}

อาทิตย์   A และ มกราคม  ∉ 

อ่านว่า  อาทิตย์  เป็นสมาชิกของ เซต A  และ มกราคม ไม่เป็นสมาชิกของ เซต A

 ถ้าให้ B = เซตของสระในภาษาอังกฤษ สามารถเขียนได้ดังนี้

 B = { a, e, i, o, u}

a   B และ m  ∉ B

 อ่านว่า  a เป็นสมาชิกของ เซต B  และ m ไม่เป็นสมาชิกของ เซต B

การเขียนเซตแบบแจกแจงสมาชิก ในกรณีที่จำนวนสมาชิกของเซตมีหลายจำนวน เราสามารถใช้สัญลักษณ์ในการเขียนแทนจำนวนเหล่านั้นได้ เช่น เซตของตัวอักษรภาษาอังกฤษ 

ถ้าให้ C = เซตของตัวอักษรภาษาอังกฤษ สามารถเขียนได้ดังนี้

                     C = { a, b, c, ... , z}

ถ้าให้ D = เซตของจำนวนนับ สามารถเขียนได้ดังนี้

                     D = { 1, 2, 3, ... }

  การเขียนแบบบอกเงื่อนไข  เป็นการเขียนแสดงเซตโดยใช้ตัวแปรแทนสมาชิก ซึ่งตัวแปรที่นิยมใช้ คือ X แล้วบรรยายสมบัติหรือเงื่อนไข โดยจะเขียนไว้ในวงเล็บปีกกา และใช้เครื่องหมาย " ⎢ " คั่นระหว่างตัวแปร และการบรรยายสมบัติหรือเงื่อนไขของตัวแปร 

 เครื่องหมาย " ⎢ " อ่านว่า "โดยที่" 

ตัวอย่างการเขียนเซตแบบบอกเงื่อนไข 

 E = { X ⎢ X เป็นชื่อเดือนที่ลงท้ายด้วย "คม" }

 อ่านว่า E เป็นเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิก X โดยที่ X เป็นชื่อเดือนที่ลงท้ายด้วย "คม"

 F = { X ⎢ X เป็นสระในภาษาอังกฤษ }

 อ่านว่า F เป็นเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิก X โดยที่ X เป็นสระในภาษาอังกฤษ

 **ข้อสังเกต : การเขียนเซตแสดงเซตทั้งสองแบบ สมารถเขียนสลับกันไปมาได้ เช่น

 กำหนดให้ B = { a, e, i, o, u} จงเขียนแสดงเซตที่กำหนดให้เป็นเซตแบบบอกเงื่อนไข 

จะได้ว่า B = { X ⎢ X เป็นสระในภาษาอังกฤษ }

 

 ฝึกสมอง ลองความไว กับแอป QMath เล่นง่าย สนุกกับการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดแอปได้ที่ลิงค์ด้านล่างเลยนะคะ

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.pro45.qmath



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปริมาตรปริซึม

ปริมาตรปริซึม ตัวอย่างการคำนวณปริมาตรปริซึม      ปริซึมสี่เหลี่ยมรูปหนึ่ง กว้าง 4 เซ็นติเมตร ยาว 8 เซ็นติเมตร และสูง 15 เซ็นติเมตร  จงหาปริมาตรปริซึมสี่เหลี่ยมรูปนี้       วิธีทำ               จากสูตรการหาปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน x สูง               จากรูป ฐานของรูปปริซึมสี่เหลี่ยมรูปนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 4 cm. และยาว 8 cm.               ดังนั้น พื้นที่ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า = ก x ย               แทนค่าตามสูตรปริมาตรปริซึม = พื้นที่ฐาน x สูง                                                       = ก x ย x ส                                                       = 4 x 8 x 15                                                       = 480        ตอบ ปริซึมสี่เหลี่ยมรูปนี้มีปริมาตร คือ 480 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร     ปริซึมสามเหลี่ยมรูปหนึ่ง สูง 15 เซ็นติเมตร มีความยาวฐาน 6 เซ็นติเมตร และส่วนสูงของฐาน 5  เซ็นติเมตร  จงหาปริมาตรปริซึมสามเหลี่ยมรูปนี้       วิธีทำ               จากสูตรการหาปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน x สูง               จาก

เลขยกกำลัง ตัวอย่าง 5 (math logarithm)

คำถาม จงเขียนจำนวนต่อไปนี้ในรูปเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 1   พร้อมทั้งบอกฐาน และเลขชี้กำลัง                          0.0025 เขียนในรูปเลขยกกำลัง คือ …………………………………… ฐาน  คือ.................................................................................... เลขชี้กำลัง คือ ...……………………………………………… ตอบ เขียนในรูปเลขยกกำลัง คือ   0.05 2 ฐาน  คือ     0.05 เลขชี้กำลัง คือ    2

ประพจน์ (Propositions หรือ Statements)

ประพจน์ ( Propositions  หรือ Statements ) ประพจน์  คือ  ประโยคหรือข้อความที่เป็นจริงหรือเท็จ อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ประโยคหรือข้อความที่มีลักษณะดังกล่าวจะอยู่ในรูปบอกเล่าหรือปฏิเสธก็ได้ ตัวอย่างประโยคหรือข้อความที่เป็นประพจน์             1.   สกลนครเป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคเหนือของไทย               (เท็จ)             2.  2 + 3 = 5                                                                             (จริง)             3.  แมวเป็นสัตว์ที่มีสองขา                                                      (เท็จ)             4.  เดือนมิถุนายนมี 30 วัน                                                        (จริง)             5.  9 หารด้วย 3 ลงตัว                                                              (จริง) จากตัวอย่างข้างต้น  การเป็นจริงหรือเท็จ (true or false)ในทางตรรกศาสตร์   ของแต่ละประพจน์   เรียกว่า   ค่าความจริงของประพจน์ (truth - value) ข้อความที่ไม่ได้อยู่ในรูปบอกเล่าหรือปฏิเสธ จะไม่เป็นประพจน์  เช่น  ประโยคคำถา